ประวัติ
ประวัติความเป็นมา ประวัติความเป็นมาของจังหวัดสตูลในสมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา และในสมัยกรุงศรีอยุธยาไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวไว้ ณ ที่ใด สันนิษฐานว่าในสมัยนั้น ไม่มีเมืองสตูล คงมีแต่หมู่บ้านเล็ก ๆ กระจัดกระจายอยู่ตามที่ราบชายฝั่งทะเล ใน สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สตูลเป็นเพียงตำบลหนึ่งอยู่ในเขตเมือง ไทรบุรี ฉะนั้นประวัติความเป็นมาของจังหวัดสตูล จึงเกี่ยวข้องกับ เรื่องราวของเมืองไทรบุรี ดังปรากฎในหนังสือพระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ ว่า “ตาม เนื้อความที่ปรากฏดังกล่าว มาแล้ว ทำให้เห็นว่าในเวลานั้น พวกเมืองไทรเห็นจะแตกแยกกันเป็น สองพวก คือ พวกเจ้าพระยาไทรปะแงรันพวกหนึ่ง และพวก พระยาอภัยนุราชคงจะนบน้อมฝากตัวกับเมืองนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะเมื่อพระยาอภัยนุราชได้มาเป็นผู้ว่าราชการเมืองสตูล ซึ่งเขตแดนติดต่อกับเมืองนครศรีธรรมราช พวกเมืองสตูลคงจะมาฟัง บังคับบัญชาสนิทสนมข้างเมืองนครศรีธรรมราชมากกว่า เมืองไทร แต่พระยาอภัยนุราชว่าราชการเมืองสตูลได้เพียง ๒ ปี ก็ถึงแก่อนิจกรรม ผู้ใดจะได้ว่าราชการเมืองสตูล ต่อมาในชั้นนั้นหาพบจดหมายเหตุไม่ แต่พิเคราะห์ความตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลัง เข้าใจว่าเชื้อพระวงศ์ ของพระอภัยนุราช (ปัศนู) คงจะได้ว่าราชการเมืองสตูลและฟังบังคับ บัญชาสนิทสนมกับเมืองนครศรีธรรมราช อย่างครั้งพระยาอภัยนุราช หรือยิ่งกว่านั้น
สถานที่สำคัญ
วัดดุลยาราม ประวัติความเป็นมา ตามหลักฐานไม่มีหลักฐานบอกอายุที่แท้จริงของพระพุทธรูปองค์นี้ ทราบว่า ลอยน้ำมามีผู้พบเห็นแล้วนำไปถวายวัด ปี พ.ศ.2456 – 2479 สมัยอธิการปลอด ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่า มีผู้พบเห็นลอยน้ำคลองฉลุง ตอนเหนือของหมู่บ้าน ความสำคัญต่อชุมชน หลวงพ่อแก่ได้แสดงอภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ให้ปรากฎเป็นที่ประจักษ์เรื่อยมา เป็นที่กล่าวเลื่องลือในจังหวัดภาคใต้ แม้กระทั่งชาวมาเลเซีย ที่มีรัฐติดต่อกับจังหวัดสตูล ทุกปีมีประชาชนจำนวนมากมาสักการะบูชา วันสงกรานต์ทุกปีทางวัดอัญเชิญ หลวงพ่อแก่ เปิดโอกาสให้ประชาชนได้สรงน้ำ ลักษณะทางสถาปัตยกรรม ทำด้วยไม้แกะสลัก ขนาดความสูงประมาณ 70 – 80 เซนติเมตร เป็นพระปางห้ามญาติเค้าหน้าเป็นผู้หญิงแบบนางพญา หรือพระหน้านาง บางที่เรียก พระแก่นจันทร์ เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่อง ฝีมือแกะสลักสันนิฐานว่า เป็นช่างภาคเหนือ หรือลานนา
จุดเช็คอิน
พิกัดสวย ทะเลแดนใต้ ที่เที่ยวสตูล ธรรมชาติสุดงดงาม 1. เกาะหลีเป๊ะ 2. ปราสาทหินพันยอด 3. หาดสันหลังมังกร 4. เกาะหินงาม 5. เกาะหินซ้อน